รู้จักบัตรเลือกตั้ง 2 ใบก่อนเข้าคูหาเลือกตั้ง

ประกาศวันที่ 3 พ.ค. 2566

      รู้จักบัตรเลือกตั้ง 2 ใบก่อนเข้าคูหาเลือกตั้ง

 

      ก่อนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มาทำความเข้าใจเพื่อป้องกันความสับสน ในการลงคะแนนเสียง  การเลือกตั้งครั้งนี้  มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต หรือที่เรียกกันว่า “บัตรโหล” ซึ่งเป็นบัตรเลือกตั้งตามแบบมาตราฐาน และ บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 

.

      บัตรเลือกตั้ง  2 ใบต่างกันอย่างไร⁉️

     ใบที่ 1 : บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (สีม่วง) มีหมายเลขผู้สมัคร และ ช่องสำหรับกากบาท โดยไม่มีชื่อผู้สมัครและโลโก้พรรค

     ใบที่ 2 : บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ (สีเขียว) มีสัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมายของพรรคการเมือง และ มีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง

.

    “ วันที่ 7 พฤษภาคม 2566  เวลา 08.00-17.00 น. เลือกตั้งนอกเขต”

    “ วันที่ 14 พฤษภาคม 2566  เวลา 08.00-17.00 น. เข้าคูหา กาบัตรเลือกตั้ง” 

.

      การกำหนดรูปแบบบัตรเลือกตั้ง

     การกำหนดรูปแบบบัตรเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ตามมาตรา 84 ทุกประการ กล่าวได้ดังนี้

วรรคหนึ่ง กล่าวว่า การออกเสียงลงคะแนนให้ใช้บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบละหนึ่งใบ ซึ่งต้องมีลักษณะแตกต่างกันที่สามารถจำแนกออกจากกันได้อย่างชัดเจน ซึ่ง การกำหนดให้บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ให้มีลักษณะเดียวกับบัตรเลือกตั้ง มิสามารถทำได้ จึงต้องละเว้นไว้

วรรคสอง กล่าวว่า บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องมีช่องทำเครื่องหมาย และหมายเลขไม่น้อยกว่าจำนวนผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้น 

วรรคสาม กล่าวว่า บัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ต้องมีช่องทำเครื่องหมาย และหมายเลขของบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองและชื่อพรรคการเมือง พร้อมภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองครบทุกพรรคที่ส่งสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ

.

ข้อมูล/เนื้อหาข่าว : วรเดช แสนสิทธิ์

ประชาสัมพันธ์โดย : งานประชาสัมพันธ์และสื่อองค์กร สภานิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา

#14พฤษภา66 #เลือกตั้ง2566 #สภา #สารวัตร #คณะนิติศาสตร์

 

 ระบบรับเรื่องร้องเรียนสภานิสิต :  https://dsa.up.ac.th/service/